เมนู

อรรถกถาโคมยปิณฑสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในโคมยปิณฑสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สสฺสติสมํ ได้แก่ เสมอด้วยสิ่งที่ยั่งยืนทั้งหลาย
มีภูเขาสิเนรุ แผ่นดินใหญ่ พระจันทร์และพระอาทิตย์ เป็นต้น.
บทว่า ปริตฺตํ โคมยปิณฺฑํ ได้แก่ ก้อนโคมัย (มูลโค)มีประมาณ
น้อยขนาดเท่าดอกมะซาง.
ถามว่า ก็ก้อนโคมัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มาจากไหน ?
ตอบว่า พระองค์ทรงหยิบมาจากก้อนโคมัยที่ภิกษุรูปนั้นนำมา
เพื่อต้องการใช้ฉาบทา (เสนาสนะ).
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็พึงทราบว่า ก้อนโคมัย พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงใช้ฤทธิ์บันดาลให้มาอยู่ในพระหัตถ์ ก็เพื่อให้ภิกษุได้
เข้าใจความหมาย (ของพระธรรมเทศนา) ได้แจ่มแจ้ง.
บทว่า อตฺตภาวปฏิลาโภ ได้แก่ ได้อัตภาพ. บทว่า นยิทํ
พฺรหฺมจริยวาโส ปญฺญาเยถ
ความว่า ชื่อว่า การอยู่ประพฤติ
มรรคพรหมจรรย์นี้ไม่พึงปรากฏ เพราะว่ามรรคเกิดขึ้นทำสังขาร
ที่เป็นไปในภูมิ 3 ให้ชะงัก ก็ถ้าว่าอัตภาพเพียงเท่านี้ จะพึงเที่ยงไซร้
มรรคแม้เกิดขึ้นก็จะไม่สามารถทำสังขารวัฏให้ชะงักได้ เพราะเหตุนั้น
การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์จะไม่พึงปรากฏ.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า ถ้าสังขารอะไรจะพึงเที่ยงไซร้ สมบัติ
ที่เราเคยครอบครอง เมื่อครั้งเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ ก็จะพึง
เที่ยงด้วย แต่สมบัติแม้นั้นก็ไม่เที่ยง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า
ภูตปุพฺพาหํ ภิกฺขุ ราชา อโหสึ เป็นต้น.